องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization หรือ IMO)


องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization หรือ IMO)

1.         ข้อมูลทั่วไป
          องค์การทางทะเลระหว่างประเทศเป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ และจัดตั้งขึ้น ตั้งแต่ปี 2502 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในการกำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล รวมทั้งเพื่อเป็นกลไกในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศสมาชิก ปัจจุบัน IMO มีประเทศสมาชิกรวมทั้งสิ้น 170 ประเทศ และสมาชิกสมทบ ได้แก่ หมู่เกาะฟาโร มาเก๊า และฮ่องกง สำนักงานใหญ่ IMO ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร

2        โครงสร้างการจัดองค์กร
            2.1        สมัชชา (Assembly) เป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุด ประกอบด้วยสมาชิก IMO ทั้งหมด สมัชชาสมัยสามัญจะมีขึ้นทุกๆ 2 ปี และอาจจะมีสมัยพิเศษในกรณีจำเป็น โดยจะมีผู้แทนจากประเทศสมาชิก สมาชิกสมทบ องค์การระหว่างประเทศ และองค์กรเอกชนเข้าร่วมการประชุมฯ สมัชชาจะทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบแผนงาน การออกเสียงอนุมัติงบประมาณและการตัดสินใจการจัดเตรียมการด้านการเงินของ IMO และเลือกตั้งคณะมนตรี
            2.2        คณะมนตรี (Council) เป็นองค์กรบริหารงานของ IMO ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 40 ประเทศ ได้รับเลือกตั้งจากสมัชชา และมีวาระ 2 ปี เริ่มต้นหลังจากสมัชชาสมัยสามัญแต่ละสมัย รับผิดชอบงานของสมัชชา คณะมนตรีจะทำหน้าที่ตรวจสอบ กำกับดูแล และติดตามงานของ IMO ในช่วงระหว่างสมัยของสมัชชา ทำหน้าที่แทนสมัชชา (ยกเว้นหน้าที่ให้คำแนะนำรัฐบาลต่างๆ ในเรื่องความปลอดภัยและการป้องกันสิ่งแวดล้อมทางทะเลซึ่งสงวนไว้สำหรับสมัชชา) อาทิ
                        ก)      ประสานงานการจัดกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรใน IMO
                        .)     พิจารณาร่างแผนการปฏิบัติงานและงบประมาณก่อนนำเสนอสมัชชา
                        ค)      พิจารณารายงานของคณะกรรมการและองค์กรต่างๆ ของ IMO แล้วนำเสนอข้อคิดเห็นและ
                                 ข้อเสนอแนะต่อสมัชชา
                        ง)       แต่งตั้งเลขาธิการ IMO
                        จ)      ทำความตกลงกับองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ
โดยคณะมนตรีจะมีการประชุมสมัยสามัญขึ้นปีละ 2 ครั้ง
                   สมาชิกคณะมนตรี IMO จำนวน 40 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมสมัชชา IMO สมัยสามัญครั้งที่ 26 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 มีวาระ 2 ปี (2553-2554) มีดังนี้
                        ประเภทกลุ่ม A   เป็นประเทศสมาชิกที่มีผลประโยชน์มากที่สุดในการให้บริการด้านการขนส่งสินค้าทางเรือระหว่างประเทศ จำนวน10  ที่นั่ง ได้แก่ จีน กรีซ อิตาลี ญี่ปุ่น นอร์เว ปานามา เกาหลีใต้ รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา


-2-


                        ประเภทกลุ่ม B    เป็นประเทศสมาชิกที่มีผลประโยชน์มากที่สุดในด้านการค้าที่ขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศ จำนวน10 ที่นั่ง ได้แก่ อาร์เจนตินา บังกลาเทศ บราซิล แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย เนเธอร์แลนด์ สเปน และสวีเดน
                        ประเภทกลุ่ม C   เป็นประเทศสมาชิกที่มิได้อยู่ในกลุ่ม A หรือ B ซึ่งมีผลประโยชน์เป็นพิเศษในด้านการขนส่งทางทะเลหรือการเดินเรือและเป็นตัวแทนภูมิภาคต่างๆ ของโลก จำนวน20  ที่นั่ง ได้แก่ประเทศ ออสเตรเลีย บาฮามาส ชิลี ไซปรัส เดนมาร์ก อียิปต์ อินโดนีเซีย จาไมกา เคนยา มาเลเซีย มอลตา เม็กซิโก เบลเยียม ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ ซาอุดิอาระเบีย สิงคโปร์ แอฟริกาใต้ ไทย และตุรกี
            2.3        คณะกรรมการความปลอดภัยทางทะเล           (Maritime Safety Committee หรือ MSC) เป็นองค์กรด้านเทคนิคสูงสุดของ IMO ประกอบด้วยสมาชิกทุกประเทศ มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการการพิจารณาประเด็นต่างๆ ในขอบเขตอำนาจของ IMO เกี่ยวข้องกับเครื่องช่วยเดินเรือ การต่อสร้างเรือและอุปกรณ์ การประจำการคนประจำเรือที่ปลอดภัย กฎเกณฑ์สำหรับการป้องกันเรือโดนกัน การดำเนินการกับสินค้าอันตราย ข้อกำหนดและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล ข้อมูลอุทกศาสตร์ บันทึกการเดินทางและการเดินเรือ การสอบสวนภัยพิบัติ การกู้ภัย และการช่วยชีวิต และประเด็นอื่นๆ ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อความปลอดภัยทางทะเล รวมถึงเป็นกลไกในการทำหน้าที่ใดๆ ซึ่งอนุสัญญา IMO ได้มอบหมาย หรือหน้าที่ที่อาจมอบหมายหรือภายใต้ตราสารระหว่างประเทศและ IMO รับรอง รวมถึงความรับผิดชอบสำหรับการพิจารณาและเสนอข้อแนะนำและแนวปฏิบัติในเรื่องความปลอดภัยหรือที่เป็นไปได้ที่สมัชชารับรอง
          2.4      คณะกรรมการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล (Marine Environment Protection Committee หรือ MEPC) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทุกประเทศ มีหน้าที่พิจารณาประเด็นต่างๆ   ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและควบคุมภาวะมลพิษจากเรือ รวมทั้งจัดทำข้อแก้ไขระเบียบข้อบังคับและมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
          2.5      คณะอนุกรรมการต่างๆ (Sub-Committees) ซึ่งช่วยเหลืองานของคณะกรรมการความปลอดภัยทางทะเล (MSC) และคณะกรรมการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล (MEPC) จำนวน 9 คณะ ดังนี้
                   2.5.1   คณะอนุกรรมการว่าด้วยของเหลวและก๊าซในปริมาตรรวม
                             (Sub-Committee on Bulk Liquid and Gas : BLG)
                   2.5.2   คณะอนุกรรมการว่าด้วยสินค้าอันตราย สินค้าแข็ง และตู้สินค้า
                             (Sub-Committee on Dangerous Goods, Solid Cargoes and Container : DSC)
                   2.5.3   คณะอนุกรรมการว่าด้วยการป้องกันเพลิงไหม้
                             (Sub-Committee on Fire Protection : FP)
                   2.5.4   คณะอนุกรรมการว่าด้วยวิทยุคมนาคม การค้นหา และการช่วยชีวิต
(Sub-Committee on Radiocommunications and Search and Rescue : COMSAR)


-3-


                   2.5.5   คณะอนุกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยในการเดินเรือ
                             (Sub-Committee on Safety of Navigation : NAV)
                   2.5.6   คณะอนุกรรมการว่าด้วยการออกแบบเรือและการติดตั้งอุปกรณ์บนเรือ
                             (Sub-Committee on Ship Design and Equipment : DE)
                   2.5.7   คณะอนุกรรมการว่าด้วยการทรงตัว แนวน้ำบรรทุก และความปลอดภัย
                             ของเรือประมง (Sub-Committee on Stability and Load Lines and
                             Fishing Vessel Safety : SLF)
                   2.5.8   คณะอนุกรรมการว่าด้วยมาตรฐานการฝึกอบรมและการปฏิบัติหน้าที่ของ
                             คนประจำเรือ (Sub-Committee on Standards of Training and
                             Watchkeeping : STW)
                   2.5.9   คณะอนุกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐเจ้าของธง
                             (Sub-Committee on Flag State Implementation: FSI)
          2.6      คณะกรรมการกฎหมาย (Legal Committee หรือ LEG) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทุกประเทศ มีหน้าที่พิจารณาประเด็นต่างๆ ด้านกฎหมาย และออกกฎข้อบังคับสากล และหลักเกณฑ์เพื่อความปลอดภัยในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล รวมทั้งกำหนดหลักการและขอบเขตความรับผิดที่เจ้าของเรือต้องชดใช้แก่บุคคลที่ได้รับความเสียหาย
          2.7      คณะกรรมการด้านความร่วมมือทางวิชาการ (Technical Cooperation Committee หรือ TC) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทุกประเทศ มีหน้าที่จัดทำโครงการทางวิชาการแก่ประเทศสมาชิกในการปฏิบัติตามมาตรฐานและข้อกำหนดต่างๆ ของ IMO
          2.8      คณะกรรมการอำนวยความสะดวก (Facilitation Committee หรือ FAL) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทุกประเทศ ทำหน้าที่ศึกษา จัดทำ และดำเนินการขจัดอุปสรรคและปัญหาและความซับซ้อนของระเบียบวิธีปฏิบัติในการเข้า ออก และเทียบท่าของเรือ เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศ
          2.9      สำนักงานเลขาธิการ IMO มีเลขาธิการ (Secretary General) IMO ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าสำนักงาน ปัจจุบันชื่อ นาย Efthimios Mitropoulos ชาวกรีซ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ IMO ตั้งแต่ปี 2547 ไปจนถึงปี 2554




-4-


3.       ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับ IMO
          3.1      ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก IMO เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2516 และในฐานะสมาชิกประเทศไทยมีสิทธิและข้อผูกพันต่างๆ เช่น การชำระเงินอุดหนุนประจำปี รวมทั้งการสนับสนุนงานของ IMO โดยสมัครใจ เช่น การบริจาคเงินให้แก่ UNDP Trust Fund เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสำหรับมหาวิทยาลัยทางทะโลกเป็นประจำปีละ 250,000 บาท การบริจาคเงินได้ภายใต้โครงการจูงใจชำระเงินค่าสมาชิก IMO ให้กองทุนความร่วมมือทางวิชาการตามมติสมัชชา IMO และการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง เช่น การจัดงานวันทางทะเลโลกประจำทุกปี และการเข้าร่วมการประชุมสมัชชา คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ รวมทั้งการได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการเพื่อพัฒนามาตรฐานการขนส่งทางทะเลของประเทศจาก IMO
          3.2      ประเทศไทยได้สมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรีของ IMO ในประเภทกลุ่ม C และได้รับเลือกตั้งสมัยแรกในช่วงการประชุมสมัชชา IMO สมัยสามัญ ครั้งที่ 24 เดือนพฤศจิกายน 2548 อยู่ในวาระ 2 ปี (2549-2550) และต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่สองในช่วงการประชุมสมัชชา IMO สมัยสามัญ ครั้งที่ 25 เดือนพฤศจิกายน 2550 อยู่ในวาระปี 2551-2552
            3.3        ในช่วงการประชุมสมัชชา IMO สมัยสามัญ ครั้งที่ 26 เดือนพฤศจิกายน 2552 ประเทศไทยจะสมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรี IMO อีกวาระหนึ่ง สำหรับปี 2553-2554 ซึ่งประเทศไทยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรี IMO เป็นวาระที่สามติดต่อกัน
          3.4      สถานะของประเทศไทยต่ออนุสัญญาและพิธีสารของ IMO
                   องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) ได้รับรองอนุสัญญา พิธีสารและข้อแก้ไข จำนวน 50 กว่าฉบับ นอกจากนี้ยังมีการจัดทำกฎข้อบังคับ คู่มือ และแนวทางปฏิบัติต่างๆ จำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่มีผลบังคับใช้แล้ว โดยสถานะของประเทศไทยต่ออนุสัญญาฉบับต่างๆ ปรากฏดังนี้
                   อนุสัญญาที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีแล้ว จำนวน 13 ฉบับดังนี้
                        1)      อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ ค..1948 (IMO 1948)
                        2)     ข้อแก้ไข ค.. 1991 ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (Amendment 1991 to IMO Convention)
                   3)     ข้อแก้ไข ค..1993 ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (Amendments 1993 to IMO Convention)
                   4)     อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยกฎข้อบังคับระหว่างประเทศเพื่อป้องกันเรือโดนกันในทะเล .. 1972 (COLREG 1972)
                   5)     อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ..1974 (SOLAS 1974)



-5-


                        6)     อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการเดินเรือระหว่างประเทศ ..1965 (FAL 1965)
                   7)     อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยแนวน้ำบรรทุก ..1966 (LL 1966)
                   8)     อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยองค์การดาวเทียมทางทะเลระหว่างประเทศ (INMARSAT 1976)
                   9)     ความตกลงด้านการปฏิบัติการเกี่ยวกับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยองค์การดาวเทียมทางทะเลระหว่างประเทศ (INMARSAT OA 1976)
                   10)   อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการวัดขนาดตันเรือ ค..1969 (TONNAGE 1969)
                   11)   อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน การฝึกอบรม การออกประกาศนียบัตร และการเข้ายามของคนประจำเรือ ..1978 ตามที่แก้ไข .. 1995 (STCW 78/95)
                   12)   อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการเตรียมการ การปฏิบัติการ และ ความร่วมมือในการป้องกัน และขจัดมลพิษน้ำมัน ค..1990 (OPRC 1990)
                   13)   อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือ ค..1973 และพิธีสาร ค..1978 (MARPOL 73/78) Annex I และ II
                   อนุสัญญาที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการเข้าเป็นภาคีจำนวน 2 ฉบับ
                   1)     อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งสำหรับความเสียหายอันเกิดจากมลพิษของน้ำมัน ..1969 (CLC 1969)
                   2)     อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนระหว่างประเทศเพื่อชดใช้ความเสียหาย อันเนื่องมาจากมลพิษของน้ำมัน ค..1971 (FUND 1971)










กลุ่มงานองค์การระหว่างประเทศและสหประชาชาติ
สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ
กุมภาพันธ์ 2553

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โครงสร้าง องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ IMO

ประเภทของอุบัติภัยที่เกิดกับเรือเดินทะเล NATURE OF DISTRESS